1.การเพิ่มคำด้วยการผสมคำซ้ำคำซ้อนคำ
คำซ้ำ
คำซ้ำ เป็นการซ้ำคำมูลเดิม ความหมายของคำซ้ำอาจเหมือนคำมูลเดิม
หรืออาจมีน้ำหนักมากขึ้นหรือเบาลง หรือแสดงความเป็นพหูพจน์ เช่น เขียว ๆ แดง ๆ ไกล
ๆ มาก ๆ น้อย ๆ ช้า ๆ เร็ว ๆ ดัง ๆ ถี่ ๆ ห่าง ๆ จริง ๆ เพื่อน ๆ หลาน ๆ ฯลฯ
รูปลักษณ์ของคำซ้ำ
- เขียนเหมือน
- อ่านเหมือน
- ความหมายเหมือน
- เป็นคำชนิดเดียวกัน
- ทำหน้าที่เดียวกัน
- อยู่ในประโยคเดียวกัน
วิธีการซ้ำคำ
- นำคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
หรือคำวิเศษณ์มากล่าวซ้ำ เช่น เด็ก ๆ เรา ๆ กิน ๆ
- นำคำที่ซ้ำกัน
๒ คำมาซ้อนกัน แต่คำคู่นั้นจะต้องมีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น สวย ๆ งาม ๆ เรา ๆ
ท่าน ๆ เป็น ๆ หาย ๆ
- นำคำซ้ำกัน โดยเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์
เพื่อเน้นความหมาย เช่น ซ้วยสวย ดี๊ดี เจ็บใจ๊เจ็บใจ ดีใจ๊ดีใจ เป็นต้น
____________________________________________________________________________________________________________________________________
คำซ้อน
คำซ้อน หมายถึง การสร้างคำอีกรูปแบบหนึ่ง
มีวิธีการเช่นเดียวกับการประสมคำ จึงอนุโลมให้เป็นคำประสมได้ ความแตกต่างระหว่างคำประสมทั่วไปกับคำซ้อน
คือ คำซ้อนจะสร้างคำโดยนำคำที่มีความหมายคู่กันหรือใกล้เคียงกันมาซ้อนกัน
คำที่มาซ้อนกันจะทำหน้าที่ขยายและไขความซึ่งกันและกันและทำให้เสียงกลมกลืนกันด้วย
เช่น
คำซ้อนที่มีเสียงพยัญชนะเดียวกัน ได้แก่ วนเวียน ชุกชุม ร่อแร่ ฯลฯ
คำซ้อนที่ใช้เสียงตรงข้าม
ได้แก่ หนักเบา เป็นตาย มากน้อย ฯลฯ
คำซ้อนที่ใช้คำความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
ได้แก่ บ้านเรือน อ้วนพี มากมาย ฯลฯ
คำซ้อน 4 คำ
ที่มีคำที่ 1 และคำที่ 3 เป็นคำ ๆ เดียวกัน ได้แก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ ร้อนอกร้อนใจ เข้าได้เข้าไป ฯลฯ
คำซ้อนที่เป็นกลุ่มคำมีเสียงสัมผัส
ได้แก่ เก็บหอมรอมริบ ข้าวยากหมากแพง รู้จักมักคุ้นฯลฯ
การซ้อนคำ
เป็นการนำคำที่มีความหมายเหมือนกัน
หรือคล้ายกัน หรือประเภทเดียวกันมาเรียงซ้อนกัน
เมื่อซ้อนคำแล้วทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้น แต่ยังคงเค้าความหมายเดิมอยู่ หรือความหมายอาจไม่เปลี่ยนไป
แต่ความหมายของคำหน้าจะชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น บ้านเรือน ทรัพย์สิน คับแคบ เป็นต้น
คำที่เกิดจากการซ้อนคำเช่นนี้เรียกว่าซ้อนคำ
ชนิดของคำซ้อน
- คำซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนำคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาซ้อนกัน
เพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น และมีเสียงคล้องจองกัน ทำให้เกิดความไพเราะขึ้น
คำซ้อนเพื่อเสียงนี้บางทีเรียกว่าคำคู่ หรือคำควบคู่
- คำซ้อนเพื่อความหมาย เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกัน
ต่างกันเล็กน้อยหรือไปในทำนองเดียวกัน หรือต่างกันในลักษณะตรงข้าม
เมื่อประกอบเป็นคำซ้อนจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
๑. ความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
คำอื่นหรือกลุ่มอื่นไม่ปรากฏความหมาย เช่น หน้าตา ปากคอ เท็จจริง ดีร้าย ผิดชอบ
ขวัญหนีดีฝ่อ ถ้วยชามรามไห
๒. ความหมายอยู่ที่ทุกคำแต่เป็นความหมายที่กว้างออกไป
เช่น
เสื้อผ้า
ไม่ได้หมายเฉพาะเสื้อกับผ้า แต่รวมถึงเครื่องนุ่งห่ม
เรือแพ
ไม่ได้หมายเฉพาะเรือกับแพ แต่รวมถึงยานพาหนะทางน้ำทั้งหมด
ข้าวปลา
ไม่ได้หมายเฉพาะข้าวกับปลา แต่รวมถึงอาหารทั่วไป
๓. ความหมายอยู่ที่คำต้นกับคำท้ายรวมกัน
เช่น เคราะห์หามยามร้าย ( เคราะห์ร้าย ) ชอบมาพากล (ชอบกล)
ฤกษ์งามยามดี
(ฤกษ์ดี) ยากดีมีจน (ยากจน)
๔. ความหมายอยู่ที่คำต้นหรือคำท้าย
ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกัน เช่น ชั่ว ดี (ชั่วดีอย่างไรเขาก็เป็นเพื่อนฉัน) ผิดชอบ
(ความรับผิดชอบ) เท็จจริง (ข้อเท็จจริง)
____________________________________________________________________________________________________________________________________
คำประสม
คำประสม คือ คำที่เกิดจากการนำคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป
และมีความหมายต่างกันมาประสมกันเป็นคำใหม่คำมูลที่นำมาประสมกันอาจเป็นคำนาม
สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ และบุพบทก็ได้
หน้าที่ของคำประสม
๑.
ทำหน้าที่เป็นนาม, สรรพนาม เช่น พ่อครัว พ่อบ้าน แม่พระ ลูกเสือ น้ำตก ช่างไม้ ชาวบ้าน
เครื่องบิน
หัวใจ
นักการเมือง หมอตำแย ของเหลว
๒.
ทำหน้าที่เป็นกริยา เช่น เสียเปรียบ กินแรง กินนอกกินใน อ่อนใจ ดีใจ เล่นตัว
วางตัว ออกหน้า หักหน้า
ลองดี
ไปดี
๓. ทำหน้าที่เป็นวิเศษณ์
เช่น กินขาด ใจร้าย ใจเพชร ใจร้อน หลายใจ คอแข็ง
๔.
ใช้ในเชิงเปรียบเทียบ เช่น ก้มหน้า หมายถึง จำทน
แกะดำ
หมายถึง คนที่ทำอะไรผิดจากผู้อื่นในกลุ่ม
ถ่านไฟเก่า
หมายถึง หญิงชายที่เลิกร้าง
ไก่อ่อน
หมายถึง ยังไม่ชำนาญ
นกต่อ
หมายถึง คนที่ติดต่อหรือชักจูงผู้อื่นให้หลงเชื่อ
การสร้างคำประสม
๑.
สร้างจากคำไทยทุกคำ เช่น แม่น้ำ ที่ราบ ลูกช้าง หมดตัว กินที่ แม่ยาย
๒.
สร้างจากคำไทยกับคำภาษาต่างประเทศ เช่น เผด็จการ นายตรวจ ของโปรด
๓.
สร้างจากคำภาษาต่างประเทศทั้งหมด เช่น รถเมล์ รถบัส รถเก๋ง กิจจะลักษณะ
๔. สร้างคำเลียนแบบคำสมาส
แต่ปนกับคำไทย เช่น ผลไม้ คุณค่า พระอู่ เทพเจ้า พระที่นั่ง ทุนทรัพย์
ข้อสังเกตของคำประสม
๑.
คำประสมอาจเกิดจากคำต่างชนิดรวมกัน เช่น กินใจ (คำกริยา+คำนาม) นอกเรื่อง
(คำบุพบท+คำนาม)
๒.
คำประสมเกิดจากคำหลายภาษารวมกัน เช่นรถเก๋ง (บาลี+จีน) เครื่องอิเล็กโทน
(ไทย+อังกฤษ)
๓.
คำที่ขึ้นต้นด้วย ผู้ นัก เครื่อง ช่าง หมอ ของ เป็นคำประสม เช่น ผู้ดี, นักเรียน, ชาวนา, เครื่องยนต์
ลักษณะของคำประสม
๑.
คำประสมที่นำคำมูลที่มีเนื้อความต่างๆ มาประสมกัน แล้วได้ใจความเป็นอีกอย่างหนึ่ง
เช่น
“หาง” หมายถึง ส่วนท้ายของสัตว์ กับ “เสือ” หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง
รวมกันเป็นคำประสมว่า “หางเสือ” แปลว่า เครื่องถือท้ายเรือ และคำอื่นๆ เช่น ลูกน้ำ แม่น้ำ แสงอาทิตย์ (งู)
เป็นต้น คำเหล่านี้มีความหมายต่างกับคำมูลเดิมทั้งนั้น
คำประสมพวกนี้ถึงแม้ว่ามีใจความแปลกออกไปจากคำมูลเดิมก็ดี
แต่ก็ต้องอาศัยเค้าความหมายของคำมูลเดิมเป็นหลักเหมือนกัน
ถ้าเป็นคำที่ไม่มีเค้าความเนื่องจากคำมูลเลย
แต่เผอิญมาแยกออกเป็นคำมูลได้นับว่าเป็นคำประสมจะนับเป็นคำมูล
๒.
คำประสมที่เอาคำมูลหลายคำซึ่งทุกๆ คำก็มีเนื้อความคงที่
แต่เมื่อเอามารวมกันเข้าเป็นคำเดียวก็มี
เนื้อความผิดจากรูปเดิมไป
ซึ่งถ้าแยกออกเป็นคำๆ แล้วจะไม่ได้ความดังที่ประสมกันอยู่นั้นเลย
๓.
คำประสมที่เอาคำมูลมีรูปหรือเนื้อความซ้ำกันมารวมกันเป็นคำเดียว
คำเหล่านี้บางทีก็มีเนื้อความคล้ายกับคำมูลเดิม บางทีก็เพี้ยนออกไปบ้างเล็กน้อย
และอีกอย่างหนึ่งใช้คำมูลรูปไม่เหมือนกัน แต่เนื้อความอย่างเดียวกัน
รวมกันเข้าเป็นคำประสมซึ่งมีความหมายต่างออกไปโดยมาก
๔.
คำประสมที่ย่อออกมาจากใจความมาก
คำพวกนี้มีลักษณะคล้ายกับคำสมาสเพราะเป็นคำย่ออย่างเดียวกันรวมทั้งคำอาการนามที่มีคำว่าการหรือความนำหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น